วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) ได้กล่าวถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาอาเซียนไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ (เนื้อหาที่สำคัญบางส่วน) ดังนี้
เสาหลักของอาเซียน
ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑
รายละเอียดการเตรียมความพร้อม
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)
·ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค
· ป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรคภัยที่ส่งผลต่อสภาวะทางเศรษฐกิจในระยะยาว จากผลกระทบในด้านความมั่นคงแห่งชีวิต เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคโดย (๑) พัฒนาศักยภาพและความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาข้ามชาติด้านการก่อการร้าย ปัญหายาเสพติด และการหลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบชายแดน การจัดระบบแรงงานต่างด้าว และการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล (๒) เตรียมพร้อมรับภัยพิบัติทางธรรมชาติและเหตุฉุกเฉิน โดยพัฒนาศักยภาพและความร่วมมือภายในภูมิภาค เพื่อพร้อมรับต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินและภัยทางธรรมชาติ โดยการสร้างความยืดหยุ่นทางธุรกิจ เร่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อปกป้องธุรกิจ การค้า และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (๓) ร่วมมือในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโรคภัยประเภทที่เกิดขึ้นใหม่ในโลก โดยสร้างศักยภาพในการเตรียมความพร้อมรับการดูแลด้านสาธารณสุข รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ


เสาหลักของอาเซียน
ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑
รายละเอียดการเตรียมความพร้อม
ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)
· ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
· สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียน เพื่อให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางความคิดและค่านิยม และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประชาคมอาเซียนร่วมกัน
· ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค
· ยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพและบริการด้านสาธารณสุข ทั้งบุคลากรและมาตรฐานการให้บริการเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค (Medical Hub)
· เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนการยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและทักษะด้านภาษาเพื่อเตรียมความพร้อมของแรงงานไทยเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน โดยไทยมีบทบาทนำในอาเซียนร่วมกับประเทศอื่นที่มีศักยภาพ
· ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
· การพัฒนาความร่วมมือในกลุ่มอาเซียน เพื่อประโยชน์ร่วมกันโดยเฉพาะความร่วมมือในการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัว รวมทั้งการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างยั่งยืน อาทิ ด้านทรัพยากรน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนสร้างแนวร่วมเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในเวทีระหว่างประเทศด้านการค้า การลงทุน และสิ่งแวดล้อม


เสาหลักของอาเซียน
ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑
รายละเอียดการเตรียมความพร้อม


· เตรียมความพร้อมคนไทยในการรับประโยชน์และลดผลกระทบที่จะเข้ามา พร้อมกับการเข้าออกของแรงงานอย่างเสรี สร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถของคนไทยในการออกไปทำงานต่างประเทศ ยกระดับทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านภาษาควบคู่กับการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากผลกระทบของการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
· เร่งบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานการจ้างงาน การคุ้มครองแรงงาน และการพัฒนาทักษะฝีมือที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
· ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน
· สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารที่มีต้นทุนต่ำ อันเป็นผลจากข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี โดยสนับสนุนการปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถให้เกษตรกรไทย สามารถผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้ตามมาตรฐาน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยอาหารของสินค้าเกษตรและอาหารนำเข้า เพื่อป้องกันสินค้าที่มีคุณภาพไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการปรับปรุงกระบวนการนำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูปให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
· ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี โดยเฉพาะประชาคมอาเซียน ในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ความร่วมมือในการผลิต การจัดตั้งระบบสำรองข้าวฉุกเฉิน ปรับปรุงกฎระเบียบ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
· ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพบนฐานความรู้
· พัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าและบริการในภูมิภาคอาเซียนบนฐานปัญญา นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
· ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค
· พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและเมืองชายแดนให้มีบทบาทการเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่พัฒนาต่อเนื่องและพื้นที่ใหม่ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ มาตรฐานการให้บริการและอำนวยความสะดวกบริเวณจุดผ่านแดน ขีดความสามารถของบุคลากรและผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสามารถในการสกัดกั้นแรงงาน ยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายข้ามแดน โดยคำนึงถึงศักยภาพด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ และความสอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงระหว่างประเทศตามแผนแม่บทการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนและยุทธศาสตร์ในภาพรวมอื่นๆ
· ผลักดันให้ไทยมีบทบาทนำที่สร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะต้องมีการเตรียมการโดยพัฒนาบุคลากรในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ภาคการผลิต อุตสาหกรรมแปรรูป รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพและบริการสาธารณสุข ทั้งบุคลากรและมาตรฐานการให้บริการเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และกำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานของคุณภาพสินค้าและบริการ
· สร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเคลื่อนย้ายแรงงาน และการส่งเสริมแรงงานไทยในต่างประเทศ ในลักษณะเกื้อกูลกันผ่านกิจกรรมเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตและการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกันอย่างเสรีและมีประสิทธิภาพ
· สนับสนุนการเปิดการค้าเสรีและกำหนดแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น โดยเร่งปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจ และกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการค้า การลงทุนอย่างเป็นธรรม และผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรี เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้ง จัดทำกรอบแนวทางมาตรการตามกฎหมาย เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการบังคับใช้กฎหมายของผู้ปฏิบัติให้มีความเป็นเอกภาพและเสมอภาค ตลอดจนพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายใหม่ๆ ที่รองรับการเปิดเสรีทางการค้า[๒๓]
· เสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรมไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
· ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
· จัดตั้งและพัฒนากองทุนคาร์บอน เพื่อเป็นแหล่งรับซื้อคาร์บอนเครดิตและคาร์บอนออฟเซ็ทในประเทศ ตลอดจนการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง ASEAN Carbon Market ของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
· เตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าและข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะมาตรการภาษีที่เก็บกักสินค้าข้างพรมแดน (Border Tax Adjustments: BTAs) ตามบทบัญญัติของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) ซึ่งอาจนำมาใช้ในการเก็บภาษีคาร์บอน ณ จุดผ่านแดน การบังคับซื้อใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้านำเข้า และการใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรการฉลากคาร์บอน ฉลากแสดงข้อมูลการใช้น้ำ (Water Footprint) เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น